มื่อกล่าวถึงคำว่า “คุณภาพ” ก็ คงจะหนีไม่พ้นเรื่องของเกณฑ์การประเมินมาตรฐานหรือชี้ตัววัดประสิทธิภาพ ต่างๆ ที่จะช่วยให้เราคาดหมายสิ่งที่เราต้องการจะวัด ว่ามีคุณภาพเพียงใด ตัวอย่างง่ายๆ ถ้าเราขับรถตามรถคันหน้าที่มีสภาพ บุบบิบ ปุปุ ปะปะ หลายแห่ง แถมที่ท้ายรถยังมีข้อความว่า “นักรบย่อมไม่กลัวบาดแผล” เราคงต้องชะลอความเร็วลงหน่อยแล้วชั่งใจตัวเองว่าจะขับรถตามคันหน้าต่อไปดี ไหมนั้นเพราะเราประเมินคุณภาพการขับรถคันหน้าจากสภาพที่เราเห็น

ในเรื่องสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเบื้องต้นก็คงเช่นเดียวกัน ในลักษณะของผู้ชมผู้ใช้สื่อดังกล่าว จะให้ความสนใจกับสภาพทีเห็นจากจอคอมพิวเตอร์เป็นประการแรกก่อน แต่แค่สภาพที่เห็นในการวัดคุณภาพสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเท่านั้นยังไม่พอ จึงได้มีความพยายามที่จะจัดทำเกณฑ์การประเมินสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไว้ อย่างหลากหลาย โดยคำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญของสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 4 ประการเป็นหลัก (ถนอมพร, 2541 : 8-10) คือ


 

หมายถึงเนื้อหาสาระ (content) ที่ผู้ผลิตพัฒนารวบรวมเรียบเรียงมาอย่างดีแล้ว เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ ซึ่งในลักษณะของการนำเสนอนั้นอาจแตกต่างกันไป ตามแต่ละประเภทสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ออกแบบ และเนื้อหานี่เองจะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยแยกความแตกต่างระหว่างสื่อ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับเกมทั่วไปที่มุ่งแต่ความสนุกสนานเพลิดเพลิน

กล่าวคือสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จะต้องมีการยืดหยุ่นมากพอที่ผู้เรียนจะมีอิสระในการควบคุมการเรียนของตนได้ ซึ่งมีอยู่หลายลักษณะ เช่น การควบคุมเนื้อหา การควบคุมลำดับของการเรียน และการควบคุมการฝึกปฏิบัติหรือการทดสอบ

หรือการโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับ คอมพิวเตอร์ซึ่งก็คือผู้สอนในขณะนั้น การโต้ตอบที่ดีจะต้องมีการวิเคราะห์ออกแบบให้เหมาะสม สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับบทเรียนและเอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้อย่างมี ประสิทธิภาพ